top of page
Market Analysis

ขั้นตอนการทำงาน

การสร้างรหัสสินค้าใหม่ โดยใช้ข้อมูลจากสินค้าอื่นๆ

 

1.เลือกรหัสสินค้าที่ต้องการจะ Duplicate

2.กดที่ปุ่ม Duplicate

3.ใส่รหัสใหม่แล้วทำการบรรทึก เพียงเท่านี้ท่านก็จะได้สินค้าใหม่แล้วเปลี่ยนข้อความบางส่วน

การสร้างข้อมูลสินค้า (ตอนที่ 1)

 

ข้อดีของตัวจัดการข้อมูลสินค้า

  • กำหนดราคาสินค้าได้ 6 ราคา  (เอาไว้รองรับโมดูล Ecommerce ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต)

  • กำหนดหน่วยนับได้หลายระดับ เช่น ปากกา 1 กล่องมี 24 โหลและ 1 โหลประกอบด้วยปากกา 12 ด้าม

  • สามารถระบุว่าสินค้าเป็นประเภทที่ไม่ต้องตัดสต็อกสินค้าใช้ได้ตลอด

  • จำนวนต่ำสุดในคลัง ในกรณีที่สินค้าต่ำกว่าที่กำหนดเราสามารถข้อดูข้อมูลสินค้าๆนั้นผ่านทางรายงาน

  • สามารถกำหนดรหัสสินค้านั้นๆ เพื่อเอาไว้ใช้สำหรับการทำหมายเหตุ เช่น "*"

  • สามารถกำหนดว่าเป็นสินค้าที่ต้องเก็บ Serial Number (S/N, หรือเลข IMEI เลขเครื่องยนต์) *** ตรงนี้จะเป็น Qacc  Version ในอนาคตขึ้นไป

  • กำหนดรายละเอียดสินค้าแบบละเอียด (เอาไว้ใช้สำหรับโมดูล Ecommerce และ โมดูลใบเสนอราคา)

  • สินค้าสามารถกำหนดองค์ประกอบได้ เช่นชุด Combo1 ประกอบด้วย เตียง x1 หมอน x2 และที่นอน x1

  • สามารถกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างสินค้า เช่นเครื่องพิมพ์รุ่นนี้จะใช้หมึกเบอร์นี้ เวลาค้นหาเครื่องพิมพืก็จะมีข้อมูลสินค้าที่สัมพันธ์กันออกมาให้ดู (Telesale)

1.ไปที่โมดูล IC- – >จัดการข้อมูล – – > ข้อมูลสินค้า

หรือกดที่ไอคอนรูปบาร์โค้ด

2.ในหน้านี้ ท่านสามารถที่จะป้อน/แก้ไขข้อมูลสินค้าที่สร้างได้ ด้วยการกด

  • F4] ทำการเพิ่มข้อมูล

  • [F5] ทำการแก้ไขข้อมูลที่มีอยู่

  • [F2] ทำการบันทึกข้อมูลที่ได้เพิ่มหรือแก้ไข

  • [F6] ทำการลบข้อมูลออก

  • [F12] ทำการแสดงข้อมูลที่มีอยู่

  • [PgUp]/[PgDn] เลื่อนข้อมูลขึ้นลง

 

กดที่ปุ่ม [ค้นหา] หน่วยนับเพื่อเลือกหน่วยนับที่ต้องการ หรือกด [+]เพื่อทำการเพิ่มหน่วยนับ

กดทีปุ่ม [ค้นหา] หมวดสินค้า เพื่อค้นหาหมวดสินค้าหรือป้อนรหัสหมวดสินค้าใหม่ที่ไม่มีเพื่อทำการสร้างใหม่

ป้อนราคาที่เกี่ยวข้องรวมถึงข้อมูลพื้นฐานที่ต้องการจะป้อน

  • ราคาจะลองรับอยู่ 6 ราคา ถ้าไม่ได้ใช้ก็จะป้อนแค่ราคา A

  • จำนวนต่ำสุดในคลังจะใช้ในการออกรายงานว่าสินค้าตัวไหนต่ำสุดตามเงื่อนไข เพื่อจะทำการสั่งเพิ่มเติมและจำนวนสั่งต่อครั้งก็จะออกมาที่รายงานตัวเดียวกัน

สร้างข้อมูลสินค้า (ตอนที่ 2)

 

สินค้าโดยปกติมีหลายลักษณะ
  • เช่นสินค้าแบบต้องการเก็บข้อมูลสต็อก เช่นซื้อมาเท่าไร และขายออกไปเท่าไร

  • สินค้าแบบไม่ต้องการตัดสต็อก: ตัดขายได้ตลอดเวลาไม่ต้องคีย์ซื้อสินค้าเข้า เช่นร้านกาแฟเมื่อทำการขายกาแฟแล้วอยากจะให้ตัดรายการออกได้แต่ไม่ต้องการเก็บสต็อก หรืออาหารที่มาฝากขาย เราไม่ต้องการคีย์ข้อมูลเข้า แต่เราต้องการจะรู้ว่าทั้งวันขายออกไปเท่าไร (จำนวนที่ขายออก และยอดเงินที่ได้)   ตรงนี้เราจะกดไม่ต้องตัดสต็อก โปรแกรมจะไม่เอาเรื่องสต็อกเข้ามาเกี่ยวข้อง-ขายออกได้ตลอดเวลา

  • สินค้าแบบหมายเหตุ :เอาไว้ใช้ในการหมายเหตุในบิล เช่นเราสามารถกำหนด “*” เพื่อใช้แทนการหมายเหตุในบิล โดยสินค้าประเภทนี้จะตัดได้ตลอดเวลาไม่ต้องคีย์ซื้อ และไม่ต้องกำหนดราคาขาย เพราะเวลาเราขายรหัสสินค้านี้ เราจะต้องป้อนข้อมูลหรือหมายเหตุเอง ถ้ามีการป้อนราคาในบิลโปรแกรมก็จะนำราคาไปคำนวณให้ด้วย สรุปคือเอาไว้ใช้หมายเหตุ หรือสร้างรายการสินค้าขึ้นมาตอนนั้นๆพร้อมราคา

  • ยังมีสินค้าในรูปแบบอื่นๆที่ยังไม่ได้ให้เปิดใช้งาน เช่นสินค้าที่ต้องการเก็บประวัติ เช่นร้านมือถือจะมีการเก็บ IMEI หรือ S/N ฯลฯ

ในหน้าแรกส่วนสุดท้ายคือการกำหนดรูปภาพ

ส่วนนี้จะเอาไว้ใช้กับโปรแกรมในอนาคต เช่น Qpos+ หรือ Ecommerce(การขายออนไลน์)  ในกรณีที่ยังไม่ได้ใช้งานผู้ใช้ไม่จำเป็นที่จะต้องใส่ภาพ ในกรณีต้องการใช้งานให้กดเลือกรูปภาพที่จะใช้หรือกดลบรูปภาพออกได้

 
ส่วนเครื่องคิดเลขอัจฉริยะ (ส่วนที่เป็นรูปเครื่องคิดเลข)

เนื่องจากเวลาเราสร้างข้อมูลสินค้าจะพบว่าเราจำเป็นที่จะต้องกำหนดราคาสินค้า โดยทั่วไปเราอาจจะมีสูตรหรือการกำหนดราคาสินค้าในแต่ละกลุ่ม เช่นกลุ่มยาสีฟัน ราคา A บวกจากต้นทุน 25%  ราคา B ลดลงไป 2%  C ลดลงไป อีก 2%….หากเราต้องมาป้อนทุกๆสินค้า ย่อมจะต้องมีโอกาสที่จะเกิดการป้อนราคาที่ผิด เนื่องจากมีหลายๆสินค้าและแต่ละสินค้ามีหลายๆราคา เรามาดูการใช้งานเครื่องคิดเลขตัวนี้

เมื่อทำการกำหนดแล้วก็สามารถกดที่ [ใส่ราคาลงในช่่องราคา] หากทำการจัดเก็บเอาไว้ ในครั้งต่อไปสามารถเรียกขึ้นมาแล้วเปลี่ยนเฉพาะราคาทุนแล้วกดปุ่ม  [ใส่ราคาลงในช่่องราคา]  จะทำให้ลดการผิดพลาดในการป้อนราคาขาย

 

ดูวีดีโอล่าสุดเกี่ยวกับการใช้งานเครื่องคิดเลข

ส่วนสร้างข้อมูล (ตอนที่ 3)

 

ในส่วนนี้จะเกี่ยวข้องกับการ

  • ป้อนรายละเอียดเพิ่มเติมของสินค้า (ส่วนนี้จะออกแบบเอาไว้ใช้กับโมดูลในอนาคต เช่น Ecommerce, ใบเสนอราคา

  • สินค้าสามารถมีองค์ประกอบได้  เช่นการตัดขายเตียง เราสามารถที่จะสั่งให้ตัดสินค้าที่เป็นองค์ประกอบได้เช่น ขาเตียง หัวเตียง ฯลฯ

1.เป็นตัวอย่างที่เราสามารถเพิ่มรายละเอียดสินค้า ได้ที่ TAB รายละเอียดสินค้า เอาไว้ใช้เป็นข้อมูลภายในและในอนาคตโมดูลอื่นๆเช่น Ecommerce หรือ โมดูลทำใบเสนอราคาสามารถดึงข้อมูลไปใช้งานได้

2.สินค้าที่เป็นองค์ประกอบ โดยหลักการเช่นในที่นี้สินค้าเป็นชุดอาหาร Combo1 เวลาขายแล้วจะต้องตัดรหัส 2002,2003 และ 2005 ออกด้วย รายการสินค้าที่ตัดออกจะแสดงอยู่บนตัวบอลเอกสารด้วย

bottom of page